สุนัขสายพันธุ์ไทยแต่ละพันธุ์

สุนัขไทยพันธุ์หลังอาน


สุนัขไทยหลังอานเป็นสุนัขพื้นเมืองพันธุ์แท้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคตะวันออกแถบจังหวัดตราด ชลบุรี ระยอง ลักษณะเด่นคือ ดุร้าย จึงนิยมเลี้ยงไว้เฝ้าบ้าน เพราะตามชนบทบ้านเรือนมักไม่มีรั้วรอบขอบชิด และกลางวันขณะที่ชาวบ้านออกไปทำไร่ทำนาก็จะปิดบ้านทิ้งไว้ให้สุนัขเฝ้าดูแลแทน อย่างไรก็ตามสุนัขพันธุ์นี้มักดุร้ายต่อเมื่ออยู่ในบ้านเท่านั้น หากออกนอกบ้านแล้วจะไม่ทำอันตรายใครทั้งสิ้น ยกเว้นเมื่อมันหรือนายของมันถูกทำร้าย สมัยก่อนชาวบ้านนิยมออกหาอาหารโดยการเข้าป่าล่าสัตว์ ซึ่งมักมีสุนัขติดตามไปช่วยล่าสัตว์ด้วย เพราะสุนัขนี้สามารถวิ่งได้เร็ว เรื่องมาจากมีช่วงลำตัวยาว อกลึกเป็นพิเศษและเอวคอด จึงถูกจัดเป็นสุนัขล่าเนื้อพันธุ์หนึ่ง แต่บางครั้งอาจได้ยินคนเรียกสุนัขพันธุ์นี้ว่า หมาตามเกวียน ตามลักษณะที่มันวิ่งตามเกวียนไปกับผู้เลี้ยงขณะเดินทาง
ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าหมาไทยหลังอาน มีมาทั้งแต่เมื่อใด แต่พบหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรในสมุดข่อย เมื่อประมาณ 380ปีมาแล้วนับจากปัจุบัน ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม แห่งกรุงศรีอยุธยา ปีพุทธศักราช 2170 เป็นบันทึกที่เก่าแก่เกียวกับหมาไทย เท่าทีหาพบได้ในประเทศไทย มีข้อความอ้างถึงหมาว่า"หมาตัวมันใหญ่ มันสูงสองสอกเศษ มันมีสีต่างๆไม่ซ้ำกัน มันมีขนที่หลังกลับ มันภักดีกับผู้เลี้ยงมัน มันหากินขุดรูหาสัตว์เล็กๆ มันชอบติดตามผู้เลี้ยงไปในป่า มันได้สัตว์มันจะนำมาให้เจ้าของ มันภักดีบ้านเรือน มันรักหมู่พวกของมัน มันไปกับเจ้าของมันถึงต้นยางมีน้ำมัน มีกำลังกล้าหาญไม่กลัวใครทั้งหลาย เป็นสุวรรณรัชตะชาด มันมีโคนหูสูง มันมีหางเหมือนดาบชาวป่า ถ้าผู้ใดมีไว้จะได้รับความภักดีจากมัน"
ทั้งนี้ตามบันทึกมิได้ระบุเจาะจงว่าเป็นสุนัขไทยหลังอาน แต่ก็สันนิฐานได้ว่าน่าจะเป็นสุนัขไทยหลังอานได้ไม่ยาก เพราะลักษณะขนกลับที่หลัง และหางเหมือนดาบ นั้นหาได้แต่ในสุนัขไทยหลังอานเท่านั้น แต่จะเหมือนสุนัขไทยหลังอานในปัจจุบันหรือไม่นั้น ไม่มีใครทราบแน่นอน หรือมีหลักฐานเป็นรูปภาพวาดยืนยันไว้ และสุนัขที่มีขนกับหลังมีอยู่ไม่กี่พันธุ์ในโลกเท่านั้น หนึ่งในนั้นก็คือสุนัขไทยหลังอานของเรา
จากหลักฐานของฝรั่งที่เข้ามาทำแผนที่ในเมืองไทยเมื่อหลายร้อยปีก่อน ได้เรียกสุนัขไทยหลังอานว่า ' ไทยภูกก ' ตามถิ่นที่มีคือ บนเกาะภูกก (Phu-Quoc) อันเป็นเกาะหนึ่งใกล้จังหวัดตราดซึ่งเคยเป็นของไทย แต่บัดนี้อยู่ ในความครอบครองของเวียดนาม และในปี พ.ศ. 2413 Cornelis Van Rooyen นักล่าสัตว์ผู้ยิ่งใหญ่สมัยนั้น ได้นำเอาสุนัขไทยหลังอานมาผสม ข้ามพันธุ์กับสุนัขพันธุ์ mastiffs และสุนัขพันธุ์ Greyhounds ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนาพันธุ์ไปเรื่อยๆ จนกลาย เป็นสุนัขพันธุ์ Rhodesian Ridgeback อันเป็นสุนัขล่าสัตว์ที่มีชื่อเสียงที่สุดพันธุ์หนึ่งของโลก เพราะสามารถใช้ ล่าสิงโตได้จนมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า LionDog
การวิวัฒนาการสายพันธุ์สุนัขไทยหลังอาน ไม่มีหลักฐานบันทึกที่แน่นอนว่าเริ่มต้นมาพัฒนาสานพันธุ์ตั้งแต่เมื่อใด แต่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าในปี พ.ศ.2470 หลวงปริพนธ์พจนพิสุทธิ์ (ชาตะ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2441 มรณะ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2531) ท่านเป็นผู้ริเริ่มและพัฒนาสุนัขไทยหลังอาน จนได้สุนัขสีสวาทหลังอาน ที่มีสภาพสวยงาม คือขนสั้นและหางดาบ หลังจากนั้นได้นำไปผสมพันธุ์กับสุนัขไทยที่มีขนเกรียนในจังหวัดจันทบุรีและตราด ได้ลูกสุนัขหลังอานที่มีขนเกียนและกำมะหยี่ และมีผู้สนใจหลายท่านพัฒนา และจัดให้มีการจัดประกวดสุนัขไทยหลังอาน จนเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมาจนปัจจุบันจังหวัดตราดถือว่าหมาไทยหลังอาน มีถิ่นที่อยู่ในแถบนี้มาแต่โบราณ แปากทู่ หูตั้ง หางโด่ง


หัวโต อกกว้าง ร่างใหญ่
ฟ้นสวย เล็บงาม สีอำไพ
กล้ามใหญ่ ไหล่ตรง ตารี
เส้นหลังตรง อานยาว อุ้งเท้าสิงห์
ก้าวเดินวิ่ง เป็นสง่า เพิ่มราศรี
ใจสู้ รู้ภาษา ร่าเริ่งดี
หมาพันธุ์นี้ ของตราดแท้ แต่โบราณ

สมาคมพัฒนาพันธุ์สุนัข(แห่งประเทศไทย) ได้ยื่นขอจดขึ้นทะเบียนสุนัขไทยหลังอานกับFCI และFCI ได้ รับรองมาตรฐานพันธุ์สุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน เป็นสุนัขพันธุ์แท้พันธุ์หนึ่งของโลก เมื่อวันที่ 28 ก.ค 2536 ตามมาตรฐาน FCI หมายเลข 338/JUL.28,1993/GB การจัดหมู่ของ FCI อยู่กลุ่ม 5 ประเภทสปิตซ์และพันธุ์ดั้งเดิม หมู่ 7 ประเภทดั้งเดิมสุนัขล่า สัตว์ไม่มีการทดสอบการทำงาน ปัจจุบัน Thai Kennel จัดให้อยู่ใน Hound Group สีที่รับรองมี 4 สี คือสีแดง สีดำ สีสวาด และสีกลีบบัว

ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2536 นับเป็นเกียรติประวัติอย่างสูง สำหรับวงการสุนัขไทยหลังอาน ในโอกาสที่การสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้นำภาพวาดของสุนัขไทยหลังอานสี่ตัว พิมพ์บนแสตมป์สี่ดวง จำหน่ายเป็นวันแรก เพื่อเป็นที่ระลึกในงานสัปดาห์สากลแห่งการเขียนจดหมาย ปีพุทธศักราช 2536 แสตมป์เหล่านี้จะเป็นสื่อเผยแพร่สุนัขไทยหลังอาน ให้ชาวไทยและนานาชาติได้รู้จักมากขึ้นละถือเป็นสัญญาลักษณ์ของดีเมืองตราด จนมีการแต่งกลอนกลอนสุนัขไทยหลังอานขึ้นดังนี้

สุนัขไทยหลังอานที่การสื่อสารฯ ใช้เป็นแบบภาพเหมือน ได้แก่
1. สุนัขเพศเมียสีกลีบบัว ไม่ปรากฎชื่อ และเจ้าของ
2. สุนัขเพศผู้สีดำ ชื่อคุณห้า ผสมพันธุ์ และเจ้าของ พลตรีอำนาจ ชยสมานนท์ 
3. สุนัขเพศผู้สีแดง ชื่อทองเค ไม่ปรากฎผู้ผสมพันธุ์ เจ้าของคอกบางจาก ภาพวาดโดยนายเจนวิทย์ ทองแก้ว
4. สุนัขเพศผู้สีวาด ชื่อบลู ผู้ผสมพันธุ์จ่าไพศาล เจ้าของในอดีต คุณนิติ แซ่งโล้ว เจ้าของคนปัจจุบัน คุณสมสิทธิ์ ลีฬหะสุวรรณ ภาพวาดโดยนายเจนวิทย์ ทองแก้ว

ที่มาhttp://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=thai-ko&month=12-2007&date=15&group=2&gblog=3

สุนัขไทยพันธุ์หบางแก้ว



ประวัติความเป็นมาของสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว จากข้อมูลที่ได้สอบถามจากประชาชนตลอดจนผู้เฒ่าผู้แก่ที่บ้านบางแก้ว ตำบลท่านางงาม และบ้านชุมแสงสงคราม ตำบลชุมแสงสงคราม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก พอจะสรุปได้ว่า แหล่งกำเนิดของสุนัขไทยพันธุ์บางแก้วนั้นอยู่ที่วัดบางแก้ว ตำบลท่านางงาม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำยม สภาพภูมิประเทศทั่ว ๆ ไปนั้นยังคงเป็นป่าพง ป่าระกำ ป่าไผ่ และต้นไม้ชนิดต่าง ๆ ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นเหมาะสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ ชุกชุม เช่นช้างป่าเป็นโขลง ๆ หมูป่า ไก่ป่า สุนัขจิ้งจอก และหมาใน
หลวงพ่อมาก เมธาวี เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ ของวัดบางแก้ว ที่วัดของท่านเลี้ยงสุนัขไว้ไม่ต่ำกว่า 20-30 ตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสุนัขที่ดุขึ้นชื่อลือชา และชาวบ้านทราบกันดีว่า ใครที่เข้ามาในวัดแต่ละครั้งจะต้องตะโกนให้เสียงแต่ไกล ๆ เพื่อให้พระอาจารย์มาก เมธาวี ท่านช่วยดูหมาเอาไว้ก่อน มิฉะนั้นจะถูกมันไล่กัด ด้วยกิตติศัพท์ในความดุของสุนัขที่วัดบางแก้วนี้เอง จึงมีผู้คนนิยมมาขอลูกสุนัขไปเลี้ยงไว้เฝ้าบ้าน เฝ้าเรือน เฝ้าเรือ เฝ้าแพ เฝ้าวัว เฝ้าควาย พื้นที่ที่สุนัขไทยพันธุ์บางแก้วได้ขยายพันธุ์ไปมากที่สุดก็คือ ตำบลท่านางงามและตำบลชุมแสงสงคราม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก แต่ในปัจจุบันได้ขยายวงกว้างออกไปหลายจังหวัด
เหตุผลที่สันนิษฐานว่า สุนัขไทยพันธุ์บางแก้วเป็นสุนัขลูกผสมสามสายเลือด เพราะพื้นที่ในเขตตำบลท่านางงาม ตำบลชุมแสงสงคราม อำเภอบางระกำ ในอดีตนั้นเป็นป่าดงพงพีที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด รวมทั้งสุนัขจิ้งจอกและหมาในอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โอกาสที่สุนัขจิ้งจอกและหมาในตัวผู้จะมาแอบลักลอบเข้ามาผสมพันธุ์กับสุนัขไทยตัวเมียที่เลี้ยงไว้ในวัดบางแก้วนั้นมีความเป็นไปได้สูงมากทีเดียว เพราะสุนัขป่าทั้งหลายนี้เป็นสุนัขที่กล้าหาญชาญชัย ว่องไว ใจปราดเปรียว แข็งแรง ซึ่งเรื่องนี้ อาจารย์ท่านหนึ่งของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ได้ตรวจโครโมโซมของสุนัขไทยพันธุ์บางแก้วแล้วพบว่ามีโครโมโซมของสุนัขจิ้งจอกปะปนในโครโมโซมของสุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว ซึ่งเป็นการยืนยันทางวิทยาศาสตร์ว่าสุนัขไทยพันธุ์บางแก้วสืบเชื้อสายจากสุนัขลูกผสมระหว่างสุนัขบ้านกับสุนัขจิ้งจอก สุนัขไทยพันธุ์บางแก้วจึงมีลักษณะดีเด่นปรากฏโฉมออกมาคือ มีขนยาว ขนมีลักษณะเป็นขนสองชั้นคล้าย หางเป็นพวงสวยงาม มีขนแผงคอคล้ายแผงคอสิงโต ดุ เฉลียวฉลาด มีไอคิวสูง ไม่แพ้สุนัขพันธุ์ต่างประเทศ มีความสวยงาม





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น