ตั้งอยู่ที่ถนนสุเทพ
ในเขตอำเภอเมือง พญากือนาทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1914
(ศักราชนี้ถือตามหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ของพระรัตนปัญญาเกตุ)
เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระมหาเถระสุมน
ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ในล้านนา
วัดนี้แต่เดิมเป็นพระราชอุทยานของกษัตริย์ล้านนาไทยสมัยแรกเริ่ม
มีสถาปัตยกรรมสำคัญ คือ เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงกลม กู่บรรจุอัฐิเจ้าตระกูล ณ
เชียงใหม่ และวิหารโถง นอกจากนี้ ยังเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าเก้าตื้อ
ซึ่งพญาเมืองแก้วโปรดให้หล่อขึ้น เป็นพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่
ศิลปะล้านนาผสมกับศิลปะสุโขทัย
วัดพระสิงหืวรวิหาร
ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง
วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นวัดสำคัญในประวัติศาสตร์แห่งแผ่นดินล้านนามานับแต่อดีต
พญาผายูกษัตริย์องค์ที่ 5 ในราชวงศ์มังรายโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดนี้ขึ้น ในปีพ.ศ.
1888 พร้อมทั้งสร้างพระเจดีย์สูง 24 ศอกองค์หนึ่ง
เพื่อใช้เป็นที่บรรจุอัฐิของพญาคำฟู พระราชบิดา มีพระพุทธรูปที่สำคัญอยู่องค์หนึ่งคือพระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร
ตามประวัติของพระพุทธสิหิงส์นั้นเล่าไว้ว่า
พระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์เม็งราย ผู้ครองนครเชียงใหม่
ทรงโปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองเชียงรายเพื่อไปประดิษฐานไว้ยังวัดสวนดอก
แต่พอราชรถมาถึงวัดลีเชียง ก็ปรากฎว่าติดขัดไม่สามารถเดินทางต่อไปได้อีก
ดังนั้นพระเจ้าแสนเมืองมาจึงให้ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ไว้ที่วัดลีเชียงนี้
ประชาชนนิยมเรียกพระพุทธสิงหิงค์สั้น ๆ ว่า พระสิงห์ จึงได้เรียกชื่อวัดพระสิงห์
เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ชาวเมืองจะอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้แห่ไปตามถนนรอบเมืองเพื่อให้ประชาชนสรงน้ำโดยทั่วกัน
ในวิหารลายคำซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ยังมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องสุพรรณหงส์
และสังข์ทองซึ่งพบเพียงที่นี่แห่งเดียว ยังมีศิลปกรรมอื่นๆ ที่น่าชม ได้แก่
พระอุโบสถตกแต่งแบบศิลปะล้านนา หอไตรประดับด้วยรูปปูนปั้นเทวดา
และเจดีย์ทรงกลมแบบล้านนา
ความเชื่อและวิธีการบูชา
พระธาตุเจดีย์วัดพระสิงห์ถือเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีมะโรง (งูใหญ่)
หากได้มานมัสการอย่างน้อยสักครั้งหนึ่งแล้ว จะเป็นมงคลสูงสุดทำให้อายุมั่นขวัญยืน
มีความเจริญรุ่งเรืองตลอดไป
สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ
ทางลาด: ทางวัดจัดทางลาดสำหรับเข้าห้องส้วมไว้ คนที่ใช้ Wheel Chair สามารถใช้งานได้
ป้ายสัญลักษณ์:
ในวัดที่จัดไว้เป็นป้ายห้องส้วมสาธารณะห้องส้วม: สร้างไว้ 2 ห้องแยกชายหญิง
รวมถึงมีห้องผู้สูงอายุ และห้องเด็กอีกด้วย
วัดเจดีย์หลวงวิหาร
วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
อยู่ที่ถนนพระปกเกล้า วัดนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่พอดี
ประดิษฐานเจดีย์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าแสนเมืองมากษัตริย์องค์ที่
7
แห่งราชวงศ์มังราย (พ.ศ.1913-1954) ต่อมาพระยาติโลกราชโปรดให้ช่างขยายเจดีย์ให้สูงและกว้างกว่าเดิม
แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2024
และอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานระหว่าง พ.ศ.2011-2091
นานถึง 80 ปี ต่อมาในสมัยพระนางจิระประภา ได้เกิดแผ่นดินไหวเมื่อปี
พ.ศ. 2088 ทำให้ยอดเจดีย์หักโค่นลง
ปัจจุบันเจดีย์มีความสูงคงเหลือ 40.8 เมตร ฐานกว้างด้านละ 60 เมตร
วิหารหลวงของวัดนี้เจ้าคุณอุบาลีคุณปรมาจารย์
(สิริจันทะเถระ) และเจ้าแก้วนวรัฐเป็นผู้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2471 หน้าประตูทางเข้าวิหาร
มีบันไดนาคเลื้อยงดงามยิ่ง ใช้หางเกี่ยวกระหวัดขึ้นไปเป็นซุ้มประตูวิหาร
นาคคู่นี้เป็นฝีมือเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่เดิมได้ชื่อว่าเป็นนาคที่สวยที่สุดของภาคเหนือ
ในวัดเจีย์หลวงนี้ยังมี เสาอินทขิล
หรือ เสาหลักเมือง สร้างขึ้นเมื่อครั้งพ่อขุนเม็งรายมหาราชสร้างเมืองเชียงใหม่
เมื่อปี พ.ศ. 1839 ประดิษฐานอยู่ในวิหารจตุรมุขทรงไทยหลังเล็กๆ
เสาอินทขิลนี้สร้างด้วยไม้ซุงต้นใหญ่ ฝังอยู่ใต้ดิน ทุกปีในวันแรม 12 ค่ำเดือน 8 (เหนือ)
หรือประมาณเดือนพฤษภาคมจะมีงานเรียกว่า เข้าอินทขิล เป็นการฉลองหลักเมืองฃ
วัดพันเตา
วัดพันเตา ถนนพระปกเกล้า ติดกับวัดเจดีย์หลวง
วิหารเดิมเป็นหอคำหรือท้องพระโรงหน้าของพระเจ้ามโหตรประเทศ
เป็นอาคารเครื่องไม้แบบพื้นเมือง
ซุ้มประตูประดับไม้แกะสลักรูปนกยูงอันเป็นสัญลักษณ์ของเจ้านายฝ่ายเหนือซึ่งมองดูวิจิตรและสง่างาม
วัดแสนฝาง
ตั้งอยู่ที่ถนนท่าแพ
เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งที่มีศิลปกรรมพม่าผสมอยู่
โดยเฉพาะเจดีย์ที่มีการตกแต่งลวดลายปูนปั้นวิจิตรงดงาม
นอกจากนี้ยังมีกุฏิเจ้าอาวาสซึ่งสร้างมานานกว่า 100 ปี เป็นจุดที่น่าสนใจอีกด้วย
ตามประวัติเล่าว่าพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 ให้รื้อที่ประทับของพระเจ้ากาวิโรรสสุริวงศ์ (เจ้าชีวิตอ้าว)
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 6 มาสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2420
ครั้นสร้างเสร็จแล้วจึงโปรดให้มีการฉลองในปี พ.ศ. 2421
เวียงกุมกาม
เป็นเมืองโบราณที่พญามังราย
(พ่อขุนเม็งราย) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1829 โดยให้ขุดคูเวียงทั้ง 4 ด้านเพื่อไขน้ำแม่ปิงให้ขังไว้ในคูเวียง
โบราณสถานที่ปรากฎอยู่ในเวียงกุมกาม และใกล้เคียง จากการสำรวจพบว่ามีอยู่ 20 แห่ง ทั้งที่เป็นซากโบราณสถาน และเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่
แต่ละแห่งอยู่กระจัดกระจายกัน มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 21-22
ปัจจุบันเวียงกุมกาม
อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ประมาณกิโลเมตรที่ 3-4 ถนนเชียงใหม่-ลำพูน
ในเขตตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี และอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำปิงด้านทิศตะวันออก
การเดินทาง
เข้าทางตู้ยามหนองหอยและตรงมาจนทะลุแยกเกาะกลางป่ากล้วยตรงต่อไปจนถึงตู้ยามเจดีย์เหลี่ยม
ชาวบ้านจัดบริการรถราง และรถม้า
เพื่อพานักท่องเที่ยวชมโบราณสถานเวียงกุมกามจำนวน 10 แห่ง ได้แก่ วัดเจดีย์เหลี่ยม วัดธาตุน้อย
วัดช้างค้ำ วัดธาตุขาว วัดพญามังราย วัดพระเจ้าองค์ดำ กู่ป้าด้อม วัดปู่เปี้ย
วัดหนานช้าง และวัดอีก้าง ใช้เวลานำชมประมาณ 45 นาที ค่าบริการรถม้า
250 บาท รถรางคนละ 15
บาทหรือเหมาคันประมาณ 400 บาท
นอกจากนี้ยังรับจัดกิจกรรมเลี้ยงขันโตกและสาธิตภูมิปัญญาพื้นบ้านบริเวณเวียงกุมกาม
สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. +668 6193 5049, +668 1027 9513
ประวัติวัดเจดีย์เหลี่ยม
วัดเจดีย์เหลี่ยม หรือ เจดีย์กู่คำ
สร้างขึ้นในรัชสมัยของพญามังราย เมื่อปี พ.ศ. 1831 กล่าวคือ
หลังจากที่พระองค์ได้ยกทัพมาตีเมืองลำพูนแล้วทรงมอบเมืองลำพูนให้อำมาตย์คนสนิทชื่อ
อ้ายฟ้า ครองเมืองแทน
ส่วนพระองค์ก็ยกทัพไปสร้างเมืองใหม่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ได้ 5 ปี จึงยกทัพไปสร้างเมืองใหม่อยู้ใกล้ฝั่งแม่น้ำปิง เมื่อปี พ.ศ. 1820 ให้ชื่อเมืองนี้ว่าเวียงกุมกาม จนถึงปี พ.ศ. 1830
พระองค์ทรงให้ช่างไปถ่ายแบบพระเจดีย์มาจากวัดจามเทวีลำพูน
เพื่อนำมาสร้างให้เป็นที่สักการะแก่คนทั้งหลาย
หลังจากนั้นมาเป็นเวลาหลายร้อยปี
วัดนี้ได้ถูกทอดทิ้งให้รกร้าง จนถึงปี พ.ศ. 2451 มีคหบดีชาวพม่าคนหนึ่งได้มาเห็นเข้า
เกิดความเลื่อมใส ได้บูรณะขึ้นใหม่ โดยให้ช่างชาวพม่าเป็นผู้ดำเนินการ
จึงมีศิลปแบบพม่าเข้ามาแทนที่ศิลปแบบขอม ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิม
คงมีแต่โครงสร้างที่ยังเป็นรูปเดิมอยู่เท่านั้น
เชียงใหม่ ไนท์ ซาฟารี
เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี
ดำเนินการภายใต้องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน )ตั้งอยู่ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
ในพื้นที่ตำบลแม่เหียะ ตำบลสุเทพ
อำเภอเมือง และตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมือง
ประมาณ 10
กิโลเมตร
ส่วนแสดงสัตว์ในโครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี
ประกอบด้วย
-Jaguar Trail นักท่องเที่ยวสามารถเดินพักผ่อนได้ตามอัธยาศัยรอบทะเลสาบ
(Swan Lake) ระยะทาง 1.2 กม.
โดยมีจุดเริ่มต้นจากอาคารลานนาวิลเลจด้านร้านอาหาร และสิ้นสุดที่ทางออกใกล้เรือนวารีกุญชร
ตลอดระยะทางจะพบกับสัตว์ป่ามากกว่า 400 ตัว หรือ 50 ชนิด อาทิเช่น เสือขาว เสือจากัวร์ หนูยักษ์คาปิลาลา เสือลายเมฆ
สมเสร็จบราซิล ม้าแคระ ฮิปโปแคระ ลิงอุรังอุตัง เสือดำ ลิงกระรอก หมีโคอาล่า
แมวดาว นกกระเรียนหงอนพู่ นากใหญ่ขนเรียบ ลามา นกคลาสโซโนวี่ เสือปลา ฯลฯ
-Predator Prowl ส่วนแสดงสัตว์ป่าประเภทสัตว์กินเนื้อ
ประมาณ 200 ตัว
นักท่องเที่ยวจะสัมผัสความตื้นเต้นกับสัตว์นักล่าที่มึความดุร้ายโดยรถ Tram
ขนาด 60 ที่นั่ง ตามระยะทาง 2.13 กม. อาทิเช่น เสือโคร่งขาว เสือโคร่งอินโดจีน เสือโคร่งเบงกอล สิงโต
หมาป่าแอฟริกา หมีควาย หมีหมา กวางเจมส์บ็อค กวางไนยาร่า กวางขาวสปริงบ็อค
กวางดำสปริงบ็อค หมาจิ้งจอก อูฐสองโหนก ฯลฯ
-Savanna Safari ส่วนแสดงสัตว์ป่าประเภทสัตว์กีบและสัตว์กินพืชที่มีถิ่นอาศัยในแถบทุ่งหญ้าซาวันนา
ประมาณ 320 ตัว นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสสัตว์อย่างใกล้ชิด
โดยรถ Tram ขนาด 60 ที่นั่ง ตามระยะทาง
2.43 กม. อาทิเช่น เลียงผา กวางผา กระทิง แรดขาว ไฮยีน่า
เสือชีต้า วีลด์เดอบีส ยีราฟ จามรี ละอง ละมั่ง กวางกาเซลล์ หมูป่า กวางบาราสิงกา
ฯลฯ โดยระหว่างทางนักท่องเที่ยวจะพบกับสถาปัตยกรรมจำลองเวียงกุมกาม ซึ่งสะท้อนถึงส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่
-และในพื้นที่บริการจะเป็นหมู่บ้านล้านนา
ซึ่งเป็นอาคารที่มีสถาปัตยกรรมก่อสร้างที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบแอฟริกาและไทยลานนา
ซึ่งประกอบด้วย ศูนย์อาหาร ศูนย์รวมสินค้า OTOP ของที่ระลึก
และเป็นถานีรับ-ส่งนักท่องเที่ยวไปยังส่วนแสดงสัตว์
และด้านข้างอาคารยังมีลานน้ำพุดนตรี (Fun Plaza) สำหรับเด็กๆ
ได้เล่นน้ำขณะรอขึ้นรถ
ที่มาของเนื้องหาและรูปหน้านี้http://thai.tourismthailand.org
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น